วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ประวัตินักดนตรี


ประวัตินักดนตรี


ประวัตินักดนตีสากล


 ฟรานช์ ชูเบิร์ท


ประวัติ
ฟรานซ์-ปีเตอร์ เกิดที่เมืองลิคเทนธาล (Lichtenthal)
ใกล้กับกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อปี พ.ศ. 2340 (ค.ศ. 1797) บิดาของเขา
ฟรานซ์-เธโอดอร์ เป็นครูโรงเรียนมัธยม ได้สอนให้เขาเล่นไวโอลินเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก
ในขณะที่อิกนาซ (Ignaz) พี่ชายได้สอนเปียโนให้แก่เขา ระหว่างปี พ.ศ. 2351 ถึง
พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1808 - 1813) เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงประจำวิหารหลวงแห่งกรุงเวียนนา
และได้เข้าเรียนที่โรงเรียน Konvitk (โรงเรียนฝึกหัดนักร้องเพื่อวิหารและราชสำนัก)
เขาจึงได้เป็นศิษย์ของ อันโตนิโอ ซาลิเอรี (Antonio Salieri) ผู้อำนวยการวงดนตรีประจำราชสำนัก
ระหว่างช่วงเวลาที่เขาเข้ารับการศึกษาที่นี่ เขาได้เริ่มประพันธ์เพลง โดยเริ่มจากบทเพลงสำหรับเปียโนตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2353 (ค.ศ. 1810) ต่อมาก็แต่งเพลงสำหรับวงสตริงควอเต็ตที่ใช้เครื่องสายอย่างน้อยแปดชิ้น
รวมถึงเพลงโหมโรง รวมทั้งบทเพลงประเภทอื่น ๆ ในปี พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เขาได้รับอิทธิพลอย่างมากจากโมซาร์ท
ในการประพันธ์ซิมโฟนี สองปีต่อมาจึงได้ประพันธ์อุปรากรเรื่องแรก, เพลงสวดบทแรก
และผลงานชิ้นเอกของเขาที่เป็นเพลงร้อง (Lied) ชื่อเพลง Marguerite au rouet
จาก Gretchen am Spinnrade
ไม่กี่ปีต่อมาที่ประเทศฮังการี เขาได้กลายเป็นพ่อทูลหัวให้กับบุตรของเค้าท์แห่งเมืองเอสเตอร์ฮาซี
ได้พบรักที่ไม่สมหวัง และได้กลับมาใช้ชีวิตที่กรุงเวียนนาอีกครั้ง ทั้งชีวิตของเขาได้อุทิศให้กับดนตรี,
การแต่งเพลง และการสังสรรค์กับเพื่อนฝูง (กลุ่มสหายของชูเบิร์ต) ในร้านทำขนมที่กรุงเวียนนา
ในปี พ.ศ. 2365 (ค.ศ. 1822) ชูเบิร์ตป่วยด้วยโรคซิฟิลิส บางคนเชื่อว่าเขาเป็นพวกรักร่วมเพศ
สุขภาพของเขาทรุดโทรมลงเป็นอันมาก แต่เขาก็สามารถประพันธ์บทเพลงอันไพเราะออกมาได้จากการเฉียดตายและความทรมานจากความตาย
(การเดินทางในฤดูหนาว ควอร์เต็ตหมายเลข 14 ชื่อ หญิงสาวกับความตาย) ชูเบิร์ตเสียชีวิตเมื่อปี
พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) เพื่อตอบสนองคำขอร้องสุดท้ายขอเขา ชูเบิร์ตได้ถูกฝังใกล้กับหลุมฝังศพของลุดวิก
ฟาน เบโธเฟน ผู้ที่ชูเบิร์ตทั้งรู้สึกดึงดูด และรังเกียจมาตลอดชีวิต
ฟรานช์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert,1797-1828)

ผู้ประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ 1797 มีชีวิตอยู่ในเวียนนาจนกระทั่งถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1828 พ่อชื่อฟรานช์ ธีโอดอร์ ชูเบิร์ท (Franz Theodor Schubert)
แม่ชื่อมาเรีย
เอลิซาเบ็ธ วิทซ์ (Maria Elisabeth Vietz)
พ่อมีอาชีพเป็นครูและเป็นนักเชลโลสมัครเล่นที่มีฝีมือดีคนหนึ่งและพ่อเป็นคน
แรกที่เป็นผู้ปลูกฝังนิสัยทางดนตรีให้แก่ชูเบิร์ทขณะที่ชูเบิร์ทมีอายุได้
5 ขวบ พ่อก็เริ่มสอนวิชาเบื้องต้นให้ พออายุได้ 6 ขวบ
ก็เข้าโรงเรียนประถมที่พ่อของเขาสอนอยู่
และก็ได้เริ่มฝึกหัดเปียโนบ้างเมื่ออายุ 8 ขวบพ่อก็สอนไวโอลิน
และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ
ในไม่ช้าเขาก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet) อย่างง่าย ๆ ได้อย่างดี
ตลอดช่วงชีวิตสั้น
ๆ ของชูเบิร์ทเพียง 31 ปี
แทบไม่เคยได้รับการยกย่องในฐานะผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใดเขาได้ทิ้งผลงาน
ซิมโฟนี 8 เพลง สตริงควอเตท 19 เพลงเปียโนโซนาต้า 21 เพลง และอื่น ๆ
อีกกว่า
600
 ชองฟิลิปป์ ราโม



ได้ค้นพบทฤษฎีและเสียงต่างๆในดนตรีอีกมากมายแล้วยังได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่ง
เพื่อจะรวบรวมทฤษฎีและเสียงต่างๆในดนตรีอีกหลายอย่าง หนังสือเล่มนั้นชื่อ traite
de I harmonie (treatise on harmony) ฟลิปป์ ราโม เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อ อธิบายและขยายกฎที่มีอยู่ให้แจ้งขึ้น
ละได้เพิ่มกฎใหม่ๆเข้าไปด้วย ระบบการประสานเสียงองราโมนั้นนักดนตรีรุ่นหลัง ได้สืบต่อๆกันมาและหนังสือเล่มนี้เองที่เป็นที่สนใจของ
Monsieur Riche de la Poupliniere ผู้ที่ตั้งให้ราโมเป็นผู่กำกับดนตรีส่วนตัวของเขาและมอบหมายให้เขาแต่งเพลงให้ด้วย
ราโมมีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาในฐานะผู้คิดคันหลักเกณฑ์และทฤษฎีต่างๆทางดนตรี เขาถือคติประจำตัวว่า
“Soyez Raisonable’’ คื่อทำอะไรต้องมีเหตุมีผล จากหนังสือเล่มนั้น เองแสดงให้เห็นว่าราโมเป็นนักคิดและนักวิเคราะห์
เพื่อหาทางสร้างสรรค์ดนครีตามแนวใหม่ของเขา ค.ศ. 1722 เขาเดินทางไปกรุงปารีสเพื่อจัดการพิมพ์หนังสือที่เขาแต่ง
พอไปถึงเขาก็ได้รับการสนับสนุนอย่างดีมาก
จาก Riche de la Poupliniere และนักแต่งบทร้องในอุปราการเป็นผู้อุปถัมภ์ ค.ศ.1733
ฟิลิปป์ ราโมได้แต่งเพลงประกอบอุปรากร เรื่อง Hippolyte et aricie ซึ่ง Abbe pellegrin
เป็นผู้แต่งบทร้อง
ค.ศ. 1735 แต่งเพลง Les Indes Galantes เป็นเพลงที่เพราะมากเพลงหนึ่ง
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเพลงประจะวง chamber music ของหลุยส์ ที่15
ค.ศ.1739ได้แต่งเพลง Les Fetes d hebe
ค.ศ. 1747 แต่งเพลงอุปรากรประกอบเรื่อง La princess
de Navarre ของวอลแคร์ (voltaire) ค.ศ. 1752 นำนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงชาวอิตาเลียนมาแสดงที่กรุงปารีส
ได้รับความนิยมจากชาวปารีสเป็นอย่างมากและข่มอุปรากรของราโมให้อับแสงลงไปทันทีอย่างไรก็ตามผลงานของ
ราโม ก็ยังมีความสำคัญอยู่ในประวัติดนตรีของชาวฝรั่งเศส เพราะอุปรากรของเขาได้พยายามรักษาประเพณีตามแบบของ
Jean Baptise Lully
ในชั่วชีวิตอันยาวนาน 81 ปีของเขานั้น ได้แต่งเพลง Operas และ Ballets รวมกัน 24
เรื่อง และเพลงอื่นๆอีกมากพอสมควร
ราโมถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1764 ที่ปารีส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น